วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

โรคที่พบในกระต่าย


ฝีหนอง
ฝีหนองตามอวัยวะส่วนต่างๆของกระต่าย เกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อที่บาดแผล ทำให้เกิดการอักเสบและกลายเป็นตุ่มหนองขึ้นมาใต้ผิวหนัง ลักษณะของฝีหนองจะเป็นก้อนนูนขึ้นมา นิ่ม ไม่เป็นก้อนแข็ง เมื่ออักเสบมากขึ้น สัมผัสดูจะรู้สึกอุ่นและเห็นเป็นสีเหลืองขุ่นที่อยู่ภายใน ถ้าลองใช้เข็มเจาะจะมีหนองข้นๆไหลออกมา กระต่ายที่เป็นฝีในระยะแรกนั้นจะยังกินอาหารและมีพฤติกรรมปกติ แต่หากเราปล่อยไว้โดยไม่รักษา ฝีจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและแตกออก ซึ่งจะทำให้กระต่ายเจ็บปวดมาก และจะลุกลามต่อเนื่องได้ เมื่อเป็นมากๆ จะส่งผลให้กระต่ายกินอาหารได้น้อยลง ซึม นอกจากนี้แล้วกระต่ายที่เคยเป็นฝีแล้วครั้งหนึ่ง มีโอกาสที่จะเป็นอีกได้มากและง่ายขึ้นเนื่องจากในร่างกายยังมีเชื้อที่กำจัดไม่หมด ดังนั้นการรักษากระต่ายที่เป็นฝีจึงควรทำเสียแต่เนิ่นๆ

หวัด
หวัด เป็นโรคที่ค่อนข้างอันตรายสำหรับกระต่าย โดยเฉพาะลูกกระต่ายเล็กๆ ถ้ามีการติดเชื้ออย่างรุนแรงจะทำให้ถึงตายได้ ปัจจัยขั้นต้นที่อาจทำให้กระต่ายเป็นหวัด ได้แก่ ความเครียด อุณหภูมิ และความชื้น ดังนั้นจึงควรระวังไม่ให้กระต่ายเกิดความเครียด และเลี่ยงไม่ให้กระต่ายอยู่ในที่ร้อนอบอ้าวหรือชื้นแฉะตลอดเวลา ที่ตั้งของ กรงกระต่ายจะต้องร่มรื่น อากาศถ่ายเทสะดวกและปลอดภัยจากลมฝน ถ้าเลี้ยงหลายๆตัว เมื่อมีตัวใดตัวหนึ่งป่วย ให้รีบแยกออกมาและทำความสะอาดกรงเพื่อฆ่าเชื้อทันที เพราะสามารถติดต่อกันได้เร็วมาก กระต่ายที่เป็นหวัด จะมีอาการน้ำมูกไหล จาม เท้าหน้าทั้งสองข้างเปียกเนื่องจากกระต่ายจะพยายามเช็ดน้ำมูกตลอดเวลา กระต่ายที่ป่วยมากๆจะซึม ไม่กินอาหาร ไม่ค่อยมีแรง

ท้องเสีย
กระต่ายมีระบบทางเดินอาหารที่ซับซ้อนและบอบบาง การให้อาหารที่ไม่ถูกต้องจะทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของกระต่ายอย่างมาก โดยเฉพาะลูกกระต่ายอายุไม่เกิน 3 เดือน ผนังลำไส้จะมีความบอบบางมาก หากท้องเสียมากๆอาจทำให้ถึงตายได้ เนื่องจากลูกกระต่ายมักทนความเจ็บปวดไม่ไหว การท้องเสียในกระต่ายมี 2 สาเหตุใหญ่ด้วยกัน คือ
1. การเปลี่ยนอาหารอย่างกะทันหัน การให้อาหารที่กระต่ายไม่เคยกิน ทำให้ระบบการย่อยปรับตัวไม่ทัน กระต่ายที่ท้องเสียเนื่องจากสาเหตุนี้จะไม่เป็นอันตรายมากนัก
2. ท้องเสียจากการได้รับเชื้อ ซึ่งติดต่อทางอาหาร น้ำ และมูลของกระต่ายที่ป่วย จะมีอาการรุนแรงกว่าและจำเป็นต้องได้รับยารักษาโรค และแยกกระต่ายตัวที่ป่วยออกจากตัวอื่นๆ เนื่องจากสามารถติดต่อถึงกันได้อย่างรวดเร็วมาก
อาการเริ่มต้น
เล็กลงกว่าปกติ มีลักษณะนิ่ม และมีกลิ่นเหม็น
การป้องกัน
ดูแลความสะอาดของกรงกระต่าย อาหารภาชนะที่ใส่อาหารและน้ำจะต้องสะอาด โดยเฉพาะภาชนะที่ใส่น้ำกระต่ายจะต้องล้างและเปลี่ยนน้ำทุกวัน ถ้าจะเปลี่ยนหรือให้อาหารชนิดใหม่แก่กระต่าย จะต้องค่อยๆให้ทีละน้อย เพื่อให้ระบบการย่อยอาหารได้ปรับตัว
** ลูกกระต่ายที่อายุยังไม่ถึง 3 เดือน ยังไม่ควรให้ทานผัก ให้ได้เฉพาะหญ้าขนและอาหารเม็ดเท่านั้นหากนำกระต่ายของคนอื่นมาเลี้ยงต่อ ควรถามคนเลี้ยงเดิมด้วยว่าเขาเลี้ยงกระต่ายตัวนั้นด้วยอะไรบ้าง
** "หญ้า" คือสิ่งจำเป็นมากสำหรับกระต่าย ถ้าหาหญ้าขนให้กระต่ายไม่ได้ก็ควรหาหญ้าอื่นมาทดแทน เช่น หญ้าแห้ง, หญ้าอัลฟัลฟา ที่ขายสำเร็จรูปในร้านสัตว์เลี้ยงทั่วไป
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.petpub.150m.com ครับ ^^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น